วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557

About Me




Hello ! I 'm Kannika Intaraphruksa. You can call me Oiwe. Now, I am studying in Education Faculty at Nakhon Si Thammarat  Rajabhat University.My ID is 5411114022.  My birthday is 25 October, 1992.



Facebook: ไออิ้ว รู้จักแล้วจะหนักใจ, ไออิ้ว เด็กอิงค์



E-mail: oiwe-ok@hotmail.com, oiwe00rorn@gmail.com

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

องค์ประกอบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน



องค์ประกอบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
             
          โดยทั่วไปบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะมีองค์ประกอบหลักที่คล้ายคลึงกัน ประกอบไปด้วย ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และการเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์

ข้อความ
                เป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายเว้นวรรคที่มีแบบหลากหลาย มีความแตกต่างกันทั้งขนาด สี และรูปแบบของตัวอักษร สามารถส่งเสริมหรือเป็นข้อจำกัดในการแสดงข้อความได้ ดังนั้นการนำเสนอเนื้อหาจะไม่สามารถยึดติดกับรูปแบบของตัวอักษรใดๆ เพราะตัวอักษรแบบหนึ่งอาจเหมาะสมในการใช้เป็นหัวเรื่อง ในขณะที่อีกแบบหนึ่งสามารถใช้อธิบายเนื้อหาได้อย่างดี เพราะมีความชัดเจน อ่านง่าย

เสียง
               เสียงที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 3 ชนิด คือ เสียงพูด เสียงดนตรี และเสียงประกอบ เสียงพูดเป็นเสียงการบรรยาย หรือเสียงจากการสนทนาที่ใช้ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับเสียงดนตรีใช้เป็นท่วงทำนองของเสียงเครื่องดนตรีต่างๆ และเสียงประกอบ ช่วยในการสร้างความเข้าใจแก่ผู้เรียนได้มากยิ่งขึ้น ส่วนเสียงประกอบ จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่นำเสนอได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

ภาพนิ่ง
                คือ ภาพถ่าย ภาพลายเส้น โดยที่ภาพถ่ายอาจเป็นภาพขาวดำ หรือสีอื่นๆก็ได้ อาจมี 2 มิติ หรือ 3 มิติ โดยขึ้นอยู่กับความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นมีภาพนิ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ เพราะมนุษย์ได้รับอิทธิพลมาจากกรับรู้ด้วยภาพเป็นอย่างดี

ภาพเคลื่อนไหว
                ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องการเคลื่อนที่และการเคลื่อนไหว ที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยตัวอักษร หรือภาพเพียงไม่กี่ภาพ ภาพเคลื่อนไหวมีคุณลักษณะเด่นในการช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียนได้ ทั้งการเคลื่อนไหว (Animation) ที่เปลี่ยนตำแหน่งและรูปทรงของภาพ และการเคลื่อนที่ (Moving)ที่เปลี่ยนเฉพาะตำแหน่งหน้าจอ แต่ไม่ได้เปลี่ยนรูปทรงของภาพ

การเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์
                คือ การรับรู้ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร โดยใช้โปรแกรมเชื่อมโยงที่เรียกว่าHypermedia ส่วนโปรแกรมเชื่อมโยงที่เรียกว่า Hyper graphic จะทำการอธิบายข้อมูลเพิ่มเติมด้วยภาพ วิธีการนี้ผู้เรียนจะใช้เมาส์ชี้คลิกส่วนใดส่วนหนึ่งขอจอภาพ เช่น ที่ภาพปุ่ม ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือบนตัวอักษร ข้อมูลก็จะปรากฏให้เห็น นอกจากนี้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนยังมีลักษณะเด่นที่สามารถให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อตอบสนองหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้ทันที ในส่วนผู้ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมควรพิจารณาให้โอกาสผู้เรียนในการตอบคำถามอย่างเหมาะสม เช่น ถ้าผู้เรียนตอบผิดซ้ำๆ มากเกินไปจะทำให้ผู้เรียนขาดแรงจูงใจ ส่วนการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อเพิ่มแรงจูงใจ อาจทำได้โดยใช้คำกล่าวชมเมื่อผู้เรียนเลือกคำตอบได้ถูกต้อง แต่ควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมเช่นกัน

ส่วนประกอบในการจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
                
การจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะต้องมีการวางแผน โดยคำนึงถึงส่วนประกอบดังต่อไปนี้

บทนำเรื่อง (Title)
                เป็นส่วนแรกของบทเรียน ช่วยกระตุ้น เร้าความสนใจให้ผู้เรียนอยากติดตามเนื้อหาในส่วน
                ต่อไป

คำชี้แจงบทเรียน (Instruction)
                เป็นส่วนแนะนำ อธิบายความคาดหวังของบทเรียน

รายการเมนูหลัก (Main Menu)
                เป็นส่วนแสดงหัวเรื่องย่อยของบทเรียนที่จะให้ผู้เรียนศึกษา

แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test)
                เป็นส่วนประเมินความรู้ขั้นต้นของผู้เรียน เพื่อดูว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในระดับใด

เนื้อหาบทเรียน (Information)
                เป็นส่วนสำคัญที่สุดของบทเรียน โดยนำเสนอเนื้อหาส่วนที่จะนำเสนอ

แบบทดสอบท้ายบทเรียน (Post Test)
                เป็นส่วนที่จะนำเสนอเพื่อทำการตรวจสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

บทสรุปและการนำไปใช้งาน (Summary – Application)
                เป็นส่วนที่ใช้สรุปประเด็นสำคัญต่างๆ ที่จำเป็น และยกตัวอย่างในการนำไปใช้งาน

7 ขั้นตอนการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


7 ขั้นตอนการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

 1. กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ (Determine Goals and Objectives)
 คือการตั้งเป้าหมายว่าผู้เรียนจะสามารถใช้บทเรียนนี้เพื่อศึกษาในเรื่องใดและลักษณะใด กล่าวคือ เป็นบทเรียนหลักเป็นบทเรียนเสริม เป็นแบบฝึกหัดเพิ่มเติมหรือแบบทดสอบ รวมทั้งการนำเสนอเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการเรียน เราจะต้องทราบพื้นฐานของผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเสียก่อน เพราะความรู้พื้นฐานของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการเรียน
   
รวบรวมข้อมูล (Collect Resources) หมายถึง การเตรียมพร้อมทางด้านของเอกสารสนเทศ (Information) ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง 
   
-  เนื้อหา (Meterials) ได้แก่ ตำรา หนังสือ เอกสารทางวิชาการ หนังสืออ้างอิง สไลด์ภาพต่างๆ
แบบสร้างสถานการณ์จำลอง เพื่อใช้สำหรับการเรียนรู้ หรือทดลองจากสภาพการณ์จำลองจากสถานการณ์จริง ซึ่งอาจจะหาไม่ได้หรืออยู่ไกลไม่สามารถนำเข้ามาในห้องเรียนได้ หรือมีสภาพอันตราย หรืออาจสิ้นเปลืองมากที่ต้องใช้ของจริงซ้ำ ๆ สามารถใช้สาธิตประกอบการสอนใช้เสริมการสอนในห้องเรียน หรือใช้ซ่อมเสริมภายหลังการเรียนนอกห้องเรียน ที่ใด เวลาใด ก็ได้ 
  
 - การพัฒนาและออกแบบบทเรียน (Instructional Development) คือ หนังสือการออกแบบบทเรียน กระดาษวาดสตอรี่บอร์ด สื่อสำหรับการทำกราฟิก โปรแกรมประมวลผลคำ เป็นต้น
   - สื่อในการนำเสนอบทเรียน (Instructional Development System) ได้แก่ การนำเอ
คอมพิวเตอร์สื่อต่างๆ มาใช้งาน
  
 - เรียนรู้เนื้อหา (Learn Content) เช่น การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การอ่านหนังสือหรือ
เอกสาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียน ถ้าไม่มีการเรียนรู้เนื้อหาเสียก่อนก็ไม่สามารถออกแบบบทเรียนที่มีประสิทธิภาพได้
 
 - สร้างความคิด (Generate Ideas) คือ การระดมสมองนั่นเอง การระดมสมองหมายถึง 
การกระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้ได้ข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นจำนวนมาก
      
  2. ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน (Design Instruction) 
ขั้นตอนการออกแบบบทเรียนเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดขั้นหนึ่งในการกำหนดว่าบทเรียนจะออกมามีลักษณะใด
  - ทอนความคิด (Elimination of Ideas) 
  - วิเคราะห์งานและแนวความคิด (Task and Concept Analysis)
  - ออกแบบบทเรียนขั้นแรก (Preliminary Lesson Description)
  - ประเมินและแก้ไขการออกแบบ (Evaluation and Revision of the Design) 
 
 3. ขั้นตอนการเขียนผังงาน (Flowchart Lesson) 
เป็นการนำเสนอลำดับขั้นโครงสร้างขอคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผังงานทำหน้าที่เสนอข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม เช่น อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนตอบคำถามผิด หรือเมื่อไหร่จะมีการจบบทเรียน และการเขียนผังงานขึ้นอยู่กับประเภทของบทเรียนด้วย
 
4. ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ด (Create Storyboard)
 เป็นขั้นตอนการเตรียมการนำเสนอข้อความ ภาพ รวมทั้งสื่อใน รูปแบบมัลติมีเดียต่างๆ ลงบนกระดาษเพื่อให้การนำเสนอข้อความและรูปแบบต่างๆ เหล่านี้เป็นไปอย่างเหมาะสมบน หน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อไป

5. ขั้นตอนการสร้างและการเขียนโปรแกรม (Program Lesson) 
เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลสตอรีบอร์ดให้กลายเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ส่วนนี้จะต้องคำนึงถึงฮาร์ดแวร์ ลักษณะและประเภทของบทเรียนที่ต้องการสร้าง โปรแกรมเมอร์และงบประมาณ

6. ขั้นตอนการประกอบเอกสารประกอบบทเรียน (Produce Supporting Materials)
 เอกสารประกอบบทเรียนอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ คู่มือการใช้ของผู้เรียน คู่มือการใช้ของผู้สอน คู่มือสำหรับแก้ปัญหาเทคนิคต่างๆ และเอกสารประกอบเพิ่มเติมทั่วๆ ไป ผู้เรียนและผู้สอนย่อมมีความต้องการแตกต่างกัน คู่มือจึงไม่เหมือนกัน คู่มือการแก้ปัญหาก็จำเป็นหากการติตตั้งมีความสลับซับซ้อนมาก

7. ขั้นตอนการประเมินผลและแก้ไขบทเรียน (Evaluate and Revise) 
บทเรียนและเอกสารประกอบทั้งหมดควรที่จะได้รับการประเมิน โดยเฉพาะการประเมินการทำงานของบทเรียน ในส่วนของการนำเสนอนั้นควรจะทำการประเมินก็คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบมาก่อนในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้น ผู้ออกแบบควรที่จะสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนหลังจากที่ได้ทำการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ แล้ว โดยผู้ที่เรียนจะต้องมาจากผู้เรียนในกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนนี้อาจจะครอบคลุมถึงการทดสอบนำร่องการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญได้
ในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้นผู้ออกแบบควรที่จะสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนหลังจากที่ได้ทำการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ แล้ว โดยผู้ที่เรียนจะต้องมาจากผู้เรียนในกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนนี้อาจจะครอบคลุมถึงการทดสอบนำร่องการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญได้

Asynchronous and Synchronous Tool

Asynchronous and  Synchronous Tool

Asynchronous Tools
     Asynchronous tools enable communication and collaboration over a period of time though a "different time different place" mode. These tools allow people to connect together at each person's own convenience and own schedule. Asynchronous tools are useful for sustaining dialogue and collaboration over a period of time and providing people with resources and information that are instantly accessible, day or night. Asynchronous tools possess the advantage of being able to involve people from multiple time zones. In addition, Asynchronous tools are helpful in capturing the history of the interactions of a group, allowing for collective knowledge to be more easily shared and distributed. The primary drawback of asynchronous technologies is that they require some discipline to use when used for ongoing communities of practice (e.g., people typically must take the initiative to "log in" to participate) and they may feel "impersonal" to those who prefer higher-touch synchronous technologies

Synchronous tools 
     Synchronous tools enable real-time communication and collaboration in a "same time-different place" mode. these tools allow people to connect at a single point in time, at the same time. Synchronous tools possess the advantage of being able to engage people instantly and at the same point in time. The primary drawback of synchronous tools is that, by definition, they require same-time participation-different time zones and conflicting schedules can create communication challenges. In addition, they tend to be costly and may require significant bandwidth to be efficient

Reference: 

ข้อดีและข้อจำกัดของ CAI

         ข้อดี
1.  ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ อันจะทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น การเรียน (Active Learner) ช่วยให้การเรียนการสอนมีบรรยากาศที่ดี

2.  ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามอัตราความสามารถของตนเอง อันเป็นการสนองตอบผู้เรียนแต่ละคน  ซึ่งมีความแตกต่างกันได้เป็นอย่างดี

3.  ความแปลกใหม่ของคอมพิวเตอร์จะช่วยเพิ่มความสนใจและความตั้งใจของผู้เรียนให้มีมากขึ้น

4.  ความสามารถในการเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ทำให้การออกแบบบทเรียนให้สนองตอบผู้เรียน แต่ละคนได้ และสามารถประเมินผลการเรียนของผู้เรียนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

5.  สามารถให้การเสริมแรงได้อย่างรวดเร็ว และมีระบบ โดยการให้ผลย้อนกลับทันทีในรูปของคำอธิบาย สีสัน ภาพ และเสียง  ซึ่งช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

6.  ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน โดยช่วยให้การสอนมีคุณภาพสูงและคงตัว

7.  ช่วยประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปรับปรุงเนื้อหาบทเรียนสามารถกระทำได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว

8.  ผู้เรียนสามารถเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ โดยไม่มีข้อจำกัดในด้านเวลาและสถานที่

9.  ช่วยขยายขีดความสามารถของผู้สอนในการดูแลผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้ง่าย และสะดวกในการนำออกไปใช้

ข้อจำกัด
1.  การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นยังมีน้อย เมื่อเทียบกับการออกแบบโปรแกรม
         เพื่อใช้ในวงการอื่น ๆ ทำให้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีจำนวน และขอบเขตจำกัด
        ที่จะนำมาใช้เรียนในวิชาต่างๆ

2.  การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเองนั้น นับว่าเป็นงานที่ต้อง
         อาศัยเวลา สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น

3.  เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นการวางโปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้า จึงมีลำดับขั้นตอนในการสอน
         ทุกอย่างตามที่วางไว้ ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิด
         สร้างสรรค์ของผู้เรียนได้

4.  ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียงตามขั้นตอน
         ทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้

Computer Assisted Learning: A Helpful Approach in Learning English

IT : Information technology

ICT: 
Information and communications technology


CAI: Computer Assisted Instruction

CALL: Computer Assisted Language Learning

WBI: 
World Bank Institute


CBI: 
Content - Based Instruction

CMC: 
Computer-Mediated Communication


TELL : 
Technology- Enhanced Language Learning


References: www.baanmaha.com
www.learners.in.th/blogs/posts/456335
phattara-130990.blogspot.com/2013/01/cbi.html

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Case Study

ทดลองใช้กับนักเรียนที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย โดยใช้คอมพิวเตอร์ในการสอน ใช้แบบทดสอบที่ทำด้วยตัวเอง ต้องทำแบบฝึกหัดให้สมบูรณ์ถึงจะผ่านไปยังขั้นต่อไป 
การศึกษาและการอภิปรายผล
จากการสำรวจ พบว่า การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นมีประโยชน์ต่อการเรียนทั้ง4 ทักษะ สูงสุด 100% คือเรื่องแกรมม่า